วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

IT Learning Journal ครั้งที่ 8


ครั้งที่ 8 : 12/01/2011

Data Management
ระบบ (System) อะไรก็ตามที่มี inputs ผ่าน process เกิด output คือสิ่งที่ต้องการ โดย output จะหน้าตาเป็นอย่างไรขึ้นกับวัตถุประสงค์ หรือ Objective ซึ่งต้องกำหนดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ระบบยังต้องมี Environment, Boundary, Control และ Feedback เป็นองค์ประกอบ

Output ของระบบสารสนเทศ คือ สารสนเทศ
Information, Data, Knowledge  ทั้งสามคำมีความหมายต่างกัน ขึ้นกับการใช้งานและการประมวลผล
ตัวอย่าง
วิชา AI613 เรียนวันที่ 12,19 ม.ค. และ 2 ก.พ. ข้อความนี้เป็นได้ทั้ง data และ information รวมทั้ง input และ output ในระบบสารสนเทศ หน้าตาอาจไม่ต่างกันเพราะกระบวนการหรือ process มีหลายรูปแบบ อาจมีการ transform แต่จะตัดสินว่าเป็น data หรือ information อยู่ที่ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น หากข้อความด้านบนส่งไปยังนักศึกษาปี 2 พอได้รับข้อความนี้ก็จะไม่มีอัตถประโยชน์ ข้อความนี้จะมีสภาพเป็น data แต่ถ้ามีอัตถประโยชน์ให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเป็น information
               
Information system
คือ ระบบที่สร้างสารสนเทศ มีลักษณะแตกต่างกันตามงานที่ทำ ตัวอย่างเช่น งานทางด้านการเงินจะมีระบบสารสนเทศที่แตกต่างจากงานด้านการตลาด รวมทั้งมีลักษณะแตกต่างกันตามผู้ใช้งานด้วย โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ข้อมูลนั้นจะถูกนำไปประมวลผลหรือวิเคราะห์ เพื่อให้ได้สารสนเทศและนำเสนอแก่ผู้ใช้ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วจะถูกจัดเก็บบันทึกไว้ใน Database เพื่อใช้ในอนาคตต่อไป

องค์ประกอบของ IS
1.       Hardware
2.       Software
3.       Data
4.       Network
5.       Procedures
6.       People

Data Management
มีเป้าหมายเพื่อสร้าง Infrastructure ในการแปลงข้อมูลดิบไปเป็นสารสนเทศขององค์กรที่มีคุณภาพสูง โดยที่จะประกอบไปด้วย Building Blocks ดังต่อไปนี้
1.       Data Profiling ทำความเข้าใจข้อมูล
2.       Data Quality Management ปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล
3.       Data Integration รวมข้อมูลที่เหมือนกันจากหลายๆ แหล่งข้อมูล
4.       Data Augmentation ปรับปรุงคุณค่าของข้อมูลเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุด

Data Life Cycle Process
1.       เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งข้อมูล โดยจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
·         Internal Data
·         External Data
·         Personal Data
2.       ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จะถูกจัดเก็บชั่วคราว และจะมีการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้มีรูปแบบตามที่องค์กรกำหนดไว้ โดยจะเก็บข้อมูลไว้ใน Data Warehouse และ Data Marts การประมวลผลข้อมูลอาจเป็นได้ทั้งแบบ Transactional และ Analytical
3.       ผู้ใช้ข้อมูลดึงข้อมูลไปจาก Data Warehouse หรือ Data Mart เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูล
4.       การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Data Analysis Tools หรือ Data Mining Tools
โดยเมื่อผ่านกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนนี้แล้ว จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ และนำไปสู่การตัดสินใจทางธุรกิจได้

Datawarehouse
ไม่ใช่ database ขนาดใหญ่ แต่จะเป็นการ extract ข้อมูลบางส่วนมาจาก database เฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลดังกล่าวนั้นจะถุกนำมาใช้ใน analytical process ต่อไป ทำให้ในการวิเคราะห์นั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องดึงข้อมูลจาก database โดยองค์กรที่ต้องมี data warehouse ต้องเป็นองคืกรที่ผู้บริหารต้องการตัดสินใจโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูล
1.       Organization: มีการจัดระเบียบเป็นหัวข้อๆ
2.       Consistency: มีรูปแบบของข้อมูลที่แน่นอนอย่างสม่ำเสมอ (เช่น รูปแบบวันที่ ใช้ วัน / เดือน / ปี ค.ศ. ตลอดทั้งไฟล์)
3.       Time variant: เก็บข้อมูลไว้นานประมาณ 5 - 10 ปี เพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้ม
4.       Non-volatile data ข้อมูลในอดีตจะไม่มีการแก้ไขปรับปรุง
5.       Relationalใช้โครงสร้างฐานข้อมูลแบบ Relational
6.       Client/serverมีการใช้ระบบ Client / server เพื่อให้ End user ใช้งานฐานข้อมูลได้ง่าย

วรางค์รัตน์ นคราพานิช
5202112818

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น