วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

IT Learning Journal ครั้งที่ 10


ครั้งที่ 10 : 1/02/2011

o Enterprise System
o Supply Chain Management
o Enterprise Resource Planning

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบสารสนเทศแบบเดิมก็คือ การที่แต่ละระบบถูกสร้างขึ้นในแต่ละแผนก โดยที่ไม่มีการรับส่งข้อมูลข้ามระบบกันอัตโนมัติ จึงทำให้เกิดการกระจัดกระจายของข้อมูล (Fragmentation of Data) ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำงานในองค์กร เช่น ผู้บริหารอาจจะรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลสรุปโดยภาพรวมได้ลำบากยิ่งขึ้น พนักงานขายไม่สามารถตรวจสอบสินค้าคงเหลือได้อย่างทันท่วงที ลูกค้าไม่สามารถติดตามสินค้าที่สั่งได้ หรือแม้กระทั่งฝ่ายผลิตก็ไม่สามารถสื่อสารกับแผนกการเงินในเรื่องของการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยเหตุนี้ Enterprise Systems จึงเกิดขึ้น
Enterprisewide Systems
       ERP
       CRM
       Knowledge Management Systems (KMS)
       Supply Chain Management (SCM)
       Decision Support Systems (DSS)
       Business Intelligence (BI)

10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management
1.      Connectivity
ปัจจุบันเครื่องมือ สัญญาณต่างๆพัฒนามากขึ้น เช่น wireless, bluetooth, GPRS ทำให้เกิดการเชื่อมต่อของข้อมูลมากขึ้น
2.      Advanced Wireless : Voice & GPS
การสื่อสารด้วยเสียงและจีพีเอสเชื่อมรวมไปยังคอมพิวเตอร์ที่มีความทนทาน นอกจากนี้ การเชื่อมรวมการติดต่อเข้าด้วยกันยังคงดำเนินต่อไปด้วยการนำระบบสื่อสารจีพีเอสมาใช้กับคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น ในรุ่น CN 3 ของบริษัทอินเตอร์เมค ประกอบไปด้วยระบบเสียงและข้อมูลไร้สายครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล เชื่อมต่อด้วย 802.11 บลูทูธ และจีพีเอส ทั้งหมดบรรจุอยู่ในคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่สามารถใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ ได้
BB, iPhone เครื่องมือเหล่านี้นำมาใช้เพื่อการบริหารงานซัพพลายเชนได้
3.      Speech Recognition
การสั่งงานด้วยเสียง เป็นเทคโนโลยีด้านเสียงอีกอย่างสำหรับการดำเนินการด้านซัพพลายเชน คือ การสั่งงานด้วยเสียงพูดสำหรับการป้อนข้อมูลแบบแฮนด์ฟรี ซึ่งกำลังเป็นคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมและมีการนำไปใช้ การสั่งงานด้วยเสียงพูดสามารถช่วยระบบการผลิตได้ โดยผู้ใช้ไม่ต้องมัวแต่เพ่งมองที่จอคอมพิวเตอร์อีกต่อไป  เช่น การยิงบาร์โค้ด เป็นต้น เพื่อให้การทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น
4.      Digital Imaging
การประมวลผลภาพดิจิตอล บริษัทขนส่งและกระจายสินค้าใช้กล้องดิจิตอลเชื่อมรวมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพา ดังนั้นพนักงานขับรถสามารถบันทึกข้อมูลการจัดส่ง จัดเก็บใบเสร็จที่ประทับตรา และรายละเอียดของเงื่อนไขที่ใช้ในการป้องกันการส่งสินค้า
เช่น ดิจิตอลคาเมรา สมาร์ทโฟนในการถ่ายรูป ทำให้อาจมีการทำใบเสร็จออนไลน์ได้เลย ออกเป็นภาพดิจิตอล ส่งเข้าองค์กรได้สะดวกมากขึ้น
5.      Portable Printing
การพิมพ์แบบเคลื่อนที่ มีการใช้งานเครื่องพิมพ์แบบพกพาที่ทนทานเป็นประจำเพื่อให้ได้เอกสารอ้างอิง เมื่อต้องการใช้งาน สำหรับการใช้งานทั่วไป ได้แก่ การจัดเตรียมใบส่งสินค้าที่มีการลงนาม ใบสั่งซื้อ ใบสั่งงาน และรายการการตรวจสอบ การใช้เครื่องพิมพ์และคอมพิวเตอร์แบบพกพาร่วมกันจะทำให้ลูกค้าสามารถมี เอกสารที่เขาต้องการ
6.      2D & other barcoding advances
ความก้าวหน้าของระบบบาร์โค้ด 2 มิติ และระบบบาร์โค้ดอื่นๆ
7.      RFID
เป็นชิพตัวเล็กๆฝังในแถบสินค้า บัตรต่างๆ เป็นต้น มีสองประเภท คือ passive ลักษณะการใช้งานคล้าย barcode ส่วน active สามารถcommunicate กับซอฟท์แวร์ต่างๆได้ มีราคาแพงกว่า
8.      Real Time Location System; RTLS
ระบบที่คอยบอกว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เช่น ในโกดัง บอกได้ว่าสินค้าเคลื่อนไปอยู่ตรงไหนบ้างแล้ว
9.      Remote Management
10.  Security
ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นเป็นแนวโน้มและความต้องการของธุรกิจที่กำลังได้รับ ความนิยมในการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีซัพพลายเชน โดยคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่จะถูกล็อคไม่ให้มีการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าและข้อมูล อื่นๆ ได้ในกรณีที่อุปกรณ์หายหรือถูกขโมย คอมพิวเตอร์ไร้สายที่ทนทานและอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูลยังสนับสนุนความ ปลอดภัยชั้นนำหลายอย่าง ที่สอดคล้องกับระบบป้องกันเครือข่ายไร้สายองค์กร

Collaborative Planning
สร้างขึ้นเพื่อ Synchronize แผนการผลิต การจัดจำหน่าย และการไหลเวียนของสินค้าให้ตรงกัน และช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังเพิ่มการตอบสนองของลูกค้าและลดสินค้าคงคลัง

Vendor Managed Inventory (VMI)
ระดับสินค้าคงเหลือจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และจะส่งคำสั่งซื้อวัตถุดิบเพิ่มเมื่อถึงระดับที่กำหนดไว้ เนื่องจากมีระบบทีคอยควบคุมและบอกระดับของสินค้าคงคลัง ทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการจัดเก็บ

E-Business Systems & Supply Chains
SCM สามารถเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร ดังนี้
·         การแปลงสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
·         ลดความเสี่ยง
·         เพิ่มการทำงานร่วมกัน
·         ปรับปรุงกระบวนการต่างๆ และบริการลูกค้า
·         เพิ่มความสามารถในการทำกำไร และความสามารถในการแข่งขัน
ตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการทำ SCM ก็คือ Unilever ที่นำกลยุทธ์ต่างๆ เข้ามาใช้เพื่อบริหาร Supply Chain โดยเฉพาะ เช่น การจัดการเครือข่ายการกระจายสินค้า การร่วมมือกับคู่ค้า การเติมเต็มความต้องการลูกค้า ฯลฯ

Enterprise Resource Planning (ERP) System
เป็นซอฟท์แวร์ที่รวมการวางแผน การจัดการ และการใช้ทรัพยากรทุกประเภทในทั้งบริษัท ซึ่งจะประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์แต่ละชุดที่ใช้ประมวลผล Back-end Operations โดยอัตโนมัติ (เช่น การเงิน การจัดการสินค้าคงเหลือ) เพื่อจัดการงานที่เกี่ยวข้องกับหลายๆ แผนกในองค์กร เช่น ERP จะมี Module สำหรับการควบคุมต้นทุน ระบบลูกหนี้ เจ้าหนี้ และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนต่างๆ
ERP จะช่วย Coordinate การดำเนินงานต่างๆ ของแต่ละแผนกของธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ผลิตผล และความสามารถในการทำกำไร และยังช่วยให้บริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างทันเวลา อันเป็นการช่วยลดต้นทุนด้วย


ตัวอย่าง ERP Software เช่น
·         SAP
·         Oracle
·         PeopleSoft
·         Lawson Software
·         ฯลฯ

Major ERP Modulesในระบบ ERP จะประกอบไปด้วย Module หลักต่างๆ ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงข้าม Module ด้วย เช่น
·         การขาย และการจัดจำหน่าย
·         การจัดการวัตถุดิบ
·         การบัญชีการเงิน
·         การจัดการทรัพยากรมนุษย์

Third-Party Modulesและอาจจะรวมไปถึง Module จาก Third-party เช่น
·         Customer Relationship Management (CRM)
·         Sales Force Automation (SFA)
·         Product Lifecycle Management (PLM)
·         Supplier Relationship Management (SRM)
·         ฯลฯ


สำหรับบริษัทที่ต้องการจะใช้ระบบ ERP อาจทำได้หลายวิธี เช่น
·         พัฒนาซอฟท์แวร์เอง
·         ซื้อซอฟท์แวร์ ERP ที่มีอยู่แล้ว (มักจะเร็วกว่า หรือถูกกว่า)
·         เช่าจาก Application Service Providers (ASP)

วรางค์รัตน์ นคราพานิช
5202112818

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

IT Learning Journal ครั้งที่ 9


ครั้งที่ 9: 19/01/2011
Data Warehouse Process
1.        ข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้บริหารอาจมีทั้งที่เป็น operational data รวมถึง external data (ข้อมูลภายนอก) เช่น ข้อมูลคู่แข่ง (Atom Data) อย่างข้อมูลผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง ข้อมูลราคา เป็นต้น
2.        คัดลอก (Extract) ข้อมูลใน data base ลงที่ Data Warehouse ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลง format หรือแปลงสภาพของข้อมูล จึงต้องมีการสร้างคำอธิบายไว้ เรียก Meta Data  หรือเป็นข้อมูลที่มีไว้สำหรับอธิบายข้อมูลอีกทีหนึ่ง เช่น อธิบายแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
3.        Data Staging หรือ ETL  ประกอบด้วยการ Extract, Clean, Transform  และ Load เพื่อเก็บใน Data Cube
4.        สร้างData Warehouse นำข้อมูลdata cube มาทำเป็น data warehouse โดยยึดวัตถุประสงค์ของธุรกิจเป็นหลัก
5.       สร้าง business view นำเสนอข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารนำไปใช้

นอกจากนี้ ฐานข้อมูลต่างๆ อาจจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของ Data Mart ซึ่งเป็นส่วนย่อยๆ ของ Data Warehouse ที่คัดแยกออกไปใช้สำหรับแผนก หรือในแต่ละ SBU (Strategic Business Unit) โดยเฉพาะ หรืออาจทำเป็น Data Cube สำหรับการจัดการฐานข้อมูลที่มีหลายมิติ เช่น ตามภูมิภาค เวลา ประเภทผลิตภัณฑ์ ฯลฯ 

Business Intelligence (BI)
เป็นซอฟท์แวร์ที่รวมโครงสร้าง เครื่องมือ ฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ และระเบียบวิธีต่างๆ เพื่อให้ผู้บริหาร หรือนักวิเคราะห์ สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบ Interactive และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจต่อได้

การทำงานหลักๆ ของ BI จะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1.        การรายงานผล ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น
·        Scorecard หนึ่งในเครื่องมือสำหรับแสดงความคืบหน้าการดำเนินงาน เทียบกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
·        Dashboards หนึ่งในเครื่องมือสำหรับแสดงผลการดำเนินงานทั่วๆ ไป
·        Visualization Tools ต่างๆ

2.        การวิเคราะห์ต่างๆ เช่น
·        Predictive Analysis หรือการวิเคราะห์เชิงทำนาย
·        Data, Text, Web Mining ซึ่งเป็นกระบวนการดึงข้อมูลที่ไม่เคยรู้มาก่อน มีค่า และสามารถนำไปใช้ต่อในการตัดสินใจได้
·        OLAP (Online Analytic Processing) เป็นเทคโนโลยีซอฟท์แวร์ที่ช่วยให้นักวิเคราะห์ และผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกอย่างรวดเร็ว ผ่านระบบออนไลน์
3.        การนำข้อมูลมารวมกัน ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น
·        ETL (Extract, Transformation, Load) เป็นระบบที่ใช้แปลงข้อมูลต่างๆ ให้เป็นรูปแบบเดียวกันก่อนที่จะนำเข้าไปในตัว BI เนื่องจากข้อมูลจากระบบอื่นๆ แต่ละระบบจะมีรูปแบบของฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน
·        EII (Enterprise Information Integration)

โครงสร้างของ BI จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ
1.        Data extraction and integration เป็นการดึงข้อมูลจากระบบอื่นๆ เช่น CRM, E-commerce, ฯลฯ เข้ามาใส่ใน Data stores หรือ Data warehouse
2.        Data mining, query and analysis tools ในส่วนนี้จะมีการนำข้อมูลจาก Data stores / Data warehouse มาทำการวิเคราะห์ในแต่ละแผนก หรือแต่ละด้าน
3.        Enterprise Reporting Systems เป็นระบบที่ใช้สร้างรายงานต่างๆ ทั้งรายงานมาตรฐาน รายงานแบบ "Ad hoc" (ตามที่ผู้ใช้ข้อมูลต้องการ) หรือปรับตามที่ลูกค้าต้องการได้ ระบบนี้จะลดเวลาเก็บข้อมูล และเพิ่มเวลาวิเคราะห์ข้อมูลในการตัดสินใจได้

ประโยชน์ของ Business Intelligence ได้แก่
·        ช่วยให้ประหยัดเวลา และต้นทุนต่างๆ มากขึ้น
·        แสดงข้อมูลต่างๆ โดยมีรูปแบบเป็นชุดเดียวกัน
·        เพิ่มประสิทธิภาพของการวางแผน การตัดสินใจ และกระบวนการต่างๆ
·        เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และคู่ค้า
·        สามารถตรวจสอบรายการที่ผิดปกติได้เร็ว 


วรางค์รัตน์ นคราพานิช
5202112818

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

IT Learning Journal ครั้งที่ 8


ครั้งที่ 8 : 12/01/2011

Data Management
ระบบ (System) อะไรก็ตามที่มี inputs ผ่าน process เกิด output คือสิ่งที่ต้องการ โดย output จะหน้าตาเป็นอย่างไรขึ้นกับวัตถุประสงค์ หรือ Objective ซึ่งต้องกำหนดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ระบบยังต้องมี Environment, Boundary, Control และ Feedback เป็นองค์ประกอบ

Output ของระบบสารสนเทศ คือ สารสนเทศ
Information, Data, Knowledge  ทั้งสามคำมีความหมายต่างกัน ขึ้นกับการใช้งานและการประมวลผล
ตัวอย่าง
วิชา AI613 เรียนวันที่ 12,19 ม.ค. และ 2 ก.พ. ข้อความนี้เป็นได้ทั้ง data และ information รวมทั้ง input และ output ในระบบสารสนเทศ หน้าตาอาจไม่ต่างกันเพราะกระบวนการหรือ process มีหลายรูปแบบ อาจมีการ transform แต่จะตัดสินว่าเป็น data หรือ information อยู่ที่ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น หากข้อความด้านบนส่งไปยังนักศึกษาปี 2 พอได้รับข้อความนี้ก็จะไม่มีอัตถประโยชน์ ข้อความนี้จะมีสภาพเป็น data แต่ถ้ามีอัตถประโยชน์ให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเป็น information
               
Information system
คือ ระบบที่สร้างสารสนเทศ มีลักษณะแตกต่างกันตามงานที่ทำ ตัวอย่างเช่น งานทางด้านการเงินจะมีระบบสารสนเทศที่แตกต่างจากงานด้านการตลาด รวมทั้งมีลักษณะแตกต่างกันตามผู้ใช้งานด้วย โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ข้อมูลนั้นจะถูกนำไปประมวลผลหรือวิเคราะห์ เพื่อให้ได้สารสนเทศและนำเสนอแก่ผู้ใช้ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วจะถูกจัดเก็บบันทึกไว้ใน Database เพื่อใช้ในอนาคตต่อไป

องค์ประกอบของ IS
1.       Hardware
2.       Software
3.       Data
4.       Network
5.       Procedures
6.       People

Data Management
มีเป้าหมายเพื่อสร้าง Infrastructure ในการแปลงข้อมูลดิบไปเป็นสารสนเทศขององค์กรที่มีคุณภาพสูง โดยที่จะประกอบไปด้วย Building Blocks ดังต่อไปนี้
1.       Data Profiling ทำความเข้าใจข้อมูล
2.       Data Quality Management ปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล
3.       Data Integration รวมข้อมูลที่เหมือนกันจากหลายๆ แหล่งข้อมูล
4.       Data Augmentation ปรับปรุงคุณค่าของข้อมูลเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุด

Data Life Cycle Process
1.       เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งข้อมูล โดยจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
·         Internal Data
·         External Data
·         Personal Data
2.       ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จะถูกจัดเก็บชั่วคราว และจะมีการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้มีรูปแบบตามที่องค์กรกำหนดไว้ โดยจะเก็บข้อมูลไว้ใน Data Warehouse และ Data Marts การประมวลผลข้อมูลอาจเป็นได้ทั้งแบบ Transactional และ Analytical
3.       ผู้ใช้ข้อมูลดึงข้อมูลไปจาก Data Warehouse หรือ Data Mart เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูล
4.       การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Data Analysis Tools หรือ Data Mining Tools
โดยเมื่อผ่านกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนนี้แล้ว จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ และนำไปสู่การตัดสินใจทางธุรกิจได้

Datawarehouse
ไม่ใช่ database ขนาดใหญ่ แต่จะเป็นการ extract ข้อมูลบางส่วนมาจาก database เฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลดังกล่าวนั้นจะถุกนำมาใช้ใน analytical process ต่อไป ทำให้ในการวิเคราะห์นั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องดึงข้อมูลจาก database โดยองค์กรที่ต้องมี data warehouse ต้องเป็นองคืกรที่ผู้บริหารต้องการตัดสินใจโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูล
1.       Organization: มีการจัดระเบียบเป็นหัวข้อๆ
2.       Consistency: มีรูปแบบของข้อมูลที่แน่นอนอย่างสม่ำเสมอ (เช่น รูปแบบวันที่ ใช้ วัน / เดือน / ปี ค.ศ. ตลอดทั้งไฟล์)
3.       Time variant: เก็บข้อมูลไว้นานประมาณ 5 - 10 ปี เพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้ม
4.       Non-volatile data ข้อมูลในอดีตจะไม่มีการแก้ไขปรับปรุง
5.       Relationalใช้โครงสร้างฐานข้อมูลแบบ Relational
6.       Client/serverมีการใช้ระบบ Client / server เพื่อให้ End user ใช้งานฐานข้อมูลได้ง่าย

วรางค์รัตน์ นคราพานิช
5202112818